วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ วัดวังหิน



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


     ประวัติวัดวังหิน
ด้วยวัดวังหิน  หมู่ที่ ๕ ตำบลย่านยาว  อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี
เดิมแม่น้ำท่าจีนไม่มีประตูพอถึงหน้าแร้งน้ำจะแห่งเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะหน้าวัดวังหินจะเป็นช่วง น้ำลึกเป็นที่ชาวบ้านสำรับได้หาปลา ชาวบ้านมักจะถามกันว่าไปหาปลาที่ไหนชาวบ้านส่วนใหญ่ จะบอกว่าไปหาปลาที่วังหินเพราะที่นี่มีหิน กรวดเป็นจำนวนมากเหมาะสำรับปลาอยู่  และพื้นที่บ้านเป็นหมู่ใหญ่ แล้วได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านวังหิน และอยู่ต่อมาชาวบ้านมีความเจริญเกิดขึ้น จึงคิดกันขึ้นมาสร้างวัดเกิดขึ้นประชาชนชาวบ้านมีความคิดเห็นตรงกันให้มีชื่อว่า (วัดวังหิน)  ฉะนั้นชาวบ้านได้ขออนุญาตสร้างวัดกับทางกรมการศาสนา  และทางกรมการศาสนาได้ให้อนุมัดสร้างวัดขึ้น  แล้วชาวบ้านจึงจัดการ    ตั้งวัดเมื่อวันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๔๓๔  พระอธิการขวัญ  ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส แล้วได้ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งวัดขึ้นมีเนื้อที่ดินตั้งวัดทั้งหมด  ๓๗  ไร่  หลังจากนั้นพระอธิการขวัญ ได้คิด และสร้างอุโบสถผูกพัทธสีมาเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๔๒  หลังจากนั้นพระอธิการขวัญได้ลาสิกขาบท
     ต่อมาพระครูวิริยสุนทร(หลวงพ่อเล็ก) ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาปรับปรุงวัดให้ดีขึ้นและสร้างมณฑปหลังเก่าหลวงพ่อโตปางป่าเลไลยก์จากนั้นได้รับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอสามชุก อยู่ประมาร ๘ พรรษาได้มรณภาพ
     ต่อมาพระสมุห์แปรกได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อมา อยู่ได้ไม่นานก็ลาสิกขา
หลังจากนั้นพระครูโกมุดสมาณคุณ(พระมหาเผื่อน)ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส และตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอสามชุกต่อมาได้ปกครองพระคณะสงฆ์ อยู่ต่อมาก็ลาสิกขาไปอีก
      ต่อมาพระครูสิริสุตคุณ(หลวงพ่อแคล้ว) ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลย่านยาว นานพอสมควร ต่อมาเมื่อวันที่  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๓          ได้มรณภาพ  จากนั้นปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ตั้งศพหลวงพ่อแคล้วได้เกิดไฟไหม้ศาลาขึ้น เมื่อวันที่  ๑๐  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๓๔หลังจากนั้นพระครูสุภัทรกิตติญาณ (เจริญ)         ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส และรับตำแหน่งรองเจ้าคณะตำบลสามชุกต่อมา ได้ปรับปรุงวัดใหม่สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ และย้ายกุฏิมาอยู่ใต้ศาลาการเปรียญ  เดิมทีกุฏิอยู่เหนือศาลาการเปรียญ
       ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๓๗  พระครูสุภัทรกิตติญาณ ได้มีความคิดเห็นว่าอุโบสถเก่าชำรุด
ได้สร้างอุโบสถใหม่ขึ้นมา สร้างเสร็จเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๔๑  ใช้งบประมาณในการ ก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน  ๖๐๐๖,๖๘๙ บาท   และผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่  ๓๐  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๒  ถึง  วันที่  ๗  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๔๓ ต่อมาเมื่อปี    พ.ศ.   ๒๕๔๗   ได้สร้างมณฑปหลังใหม่และย้ายหลวงพ่อโตปางป่าเลไลยก์จากหลังเก่า มาอยู่หลังใหม่ หลังจากนั้น   พระครูสุภัทรกิตติญาณ ได้มรณภาพ  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๔๙ประวัตพระมณี    ติกฺขญาโณ  (เล็ก)  นามสกุล   สุริวงษ์  เกิดที่บ้านวังหิน บ้านเลขที่  ๕๐ หมู่ที่         ต. ย่านยาว อ. สามชุก  จ. สุพรรณบุรี  บวชเมื่อวันที่  ๒๕  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๑ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดวังหินมาตลอด  ต่อมาพระครูสุภัทรกิตติญาณได้มรณภาพ พระอธิการมณี ติกฺขญาโณ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
  เมื่อวันที่  ๒๘  กุมภาพันธ์    ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๙  จากนั้นพระอธิการมณี   ติกฺขญาโณ      ได้จัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนขึ้นเมื่อ วันที่  ๑๙  กรกฎาคม   พ.ศ.  ๒๕๕๐        สร้างเสร็จเมื่อ วันที่  ๑๔  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ใช้งบประมาณในการก่อสร้างสะพานเป็นจำนวน  ๕๗๙๕,๖๒๕ บาท  และทาง  อ.บ.ต. ตำบล ย่านยาว  นางจำเนียร     จันทร์วิเศษ  ได้จัดงบประมาณมาช่วย  ๒๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒                 พระอธิการมณี  ติกฺขญาโณ  ได้บูรณะเมรุหลังเก่า และสร้างห้องน้ำขึ้นใหม่ใช้งบประมารในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน  ๑๗๓๐,๓๕๒ บาทต่อมาพระอธิการมณี  ติกฺขญาโณ   ได้บูรณะอุโบสถหลังเก่าเปลี่ยนกระเบื้องเป็นบางส่วนและเทหินขัดพื้นใช้งบประมาณการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน  ๒๓,๘๐๐ บาท  เพื่ออนุรักของเก่า ไว้ให้เด็กรุ่นหลังดูอุโบสถหลังเก่านับร้อยกว่าปี ต่อมาเมือปี ๒๕๕๗ได้รับตำแหน่งพระปลัดมณี ติกฺขญาโณ ต่อมาเมื่อปี ๒๕๕๘ ได้รับงบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองงบประมาณ๒๙,๗๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๙ ได้รับพระราชทานสมณศักค์ชั้นโท

                                       พระราชชินนามว่า  พระครูสุภรัตโนภาส